อำเภอคิชิวะดะและ "เทศกาลดันจิริ" มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งแบบที่คุณไม่สามารถจินตนาการได้จากเทศกาลอื่น ปฏิทินของเมืองเริ่มต้นในเดือนกันยายนซึ่งเป็นเดือนที่มีเทศกาล เด็กๆที่เกิดในคิชิวะดะจะจดจำวิธีลากซุ้ม "ดันจิริ" ได้ก่อนวิธีเล่นเบสบอลหรือฟุตบอลเสียอีก
เอกลักษณ์ที่สำคัญของ "เทศกาลคิชิวะดะ ดันจิริ" คือการแบกซุ้มที่เรียกว่า "ดันจิริ" ไปทั่วเมืองด้วยท่าทีดุเดือดราวกับจะพุ่งเข้าชน ซุ้ม "ดันจิริ" หนักสูงสุดประมาณ 4 ตัน และต้องใช้แรงผู้ชาย 400 - 1,000 คน ดึงรั้งเชือก 2 เส้นอย่างทรงพลัง โดยเฉพาะในจังหวะเลี้ยวเป็นมุมฉากหรือที่เรียกว่า "ยะริมะวะชิ" ที่เร่งความเร็วอย่างเต็มที่ จุดนี้ถือเป็นเสน่ห์อันดับหนึ่งของเทศกาล เมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ซุ้มดันจิริแต่ละหลังซึ่งประดับประดาด้วยโคมไฟกว่า 200 ชิ้นจะดูแตกต่างจากช่วงกลางวันอย่างสิ้นเชิง และจะเปลี่ยนมาจูงโดยเด็กๆอย่างเชื่องช้า เชื่อกันว่าเทศกาลเริ่มต้นขึ้นในปี 1703 โดยเริ่มจากเทศกาลอินะริ เนื่องจากท่านโอคะเบะ นะกะยะสุ ผู้ครองแคว้นคิชิวะดะในยุคนั้นต้องการขอพรให้การเกษตรอุดมสมบูรณ์ หลังจากนั้นทักษะและจิตใจที่ฝังรากลึกตลอด 300 ปีก็ยังคงได้รับการถ่ายทอดสู่ชาวเมืองที่เติบโตขึ้นมาในพื้นที่แห่งนี้
ไฮไลท์ของเทศกาลคิชิวะดะ ดันจิริ คือจังหวะที่เรียกว่า "ยะริมะวะชิ" ลูกหาบชายฉกรรจ์ประมาณ 400 - 1,000 คนจะหมุนซุ้มดันจิริหนักประมาณ 4 ตันสุดแรงกำลัง หักเป็นมุมฉากอย่างฉับพลัน เมื่อเข้าไปชมใกล้ๆ จะได้ยินเสียงบอกจังหวะโดยพร้อมเพรียงว่า "โซเรียะ โซเรียะ" และเห็นการโถมแรงเข้าใส่ให้ซุ้มเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว
การหมุนทิศทางของซุ้มในมุมฉากโดยยังคงความฮึกเหิมเช่นนี้ไม่ใช่เทคนิคง่ายๆ ต้องอาศัยทักษะความชำนาญและการผสานลมหายใจเป็นหนึ่งของกลุ่มลูกหาบ แต่ละคนแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน เช่น ผู้นำทาง, ผู้ให้สัญญาณการหมุน ฯลฯ การร่วมแรงร่วมใจกันภายในกลุ่มดังกล่าวถือเป็นไฮไลท์เด่นของเทศกาลนี้
แม้ว่าจะดูดุดันขึงขัง แต่ซุ้ม "ดันจิริ" กลับแฝงความงดงามของงานแกะสลักไม้เอาไว้อย่างปราณีต ไม่มีการใช้เทคนิคปิดทองหรือการลงรัก แต่สามารถแกะสลักไม้เป็นรูปทรงต่างๆตามความต้องการได้อย่างสมจริง เช่น รูปบุคคล ม้า ปีศาจ นก และดอกไม้ รวมไปถึงลวดลายต่างๆ
ซุ้มเทพเจ้าในงานเทศกาลทั่วประเทศญี่ปุ่นมักจะประดับประดาอย่างงดงาม ให้ความรู้สึกหรูหรา แต่ซุ้ม "ดันจิริ" ของคิชิวะดะจะเน้นงานแกะสลักไม้ที่สืบสานกันมาในตระกูลช่างชาววังผู้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ศาลเจ้านิกโกโทโชกู ให้ภาพลักษณ์เรียบง่าย แต่สง่างาม
ในขณะที่ซุ้ม "ดันจิริ" เผยให้เห็น "การเคลื่อนไหว" อย่างสง่างามในช่วงกลางวัน ในช่วงกลางคืน คุณจะได้เห็นขบวนแห่ประดับโคมไฟที่เชื่องช้าโดยแรงของเด็กๆซึ่งนำเสนอ "ความเงียบสงบ" ให้ได้สัมผัส ซุ้มรถเข็นที่ประดับประดาด้วยโคมไฟ 200 ชิ้นจะแปรเปลี่ยนจากความดุดันเป็นบรรยากาศต้องมนต์ขลัง การแกะสลักอันละเอียดอ่อนบนซุ้มดันจิริถือเป็นผลงานแห่งความภาคภูมิใจของผู้ร่วมงานแต่ละตำบล หากต้องการชมอย่างใกล้ชิด ขอแนะนำ "พาเหรดช่วงกลางคืน" ที่แห่ไปรอบเมืองอย่างเชื่องช้านี้
Please follow the instructions by volunteer security guards wearing Happi.
Dangerous areas are designated as off-limits. Please do not enter.
Please do not get close to a moving Danjiri float.
Please do not touch a parked Danjiri float.
Please do not enter each of the districts'/festival organizers' rest stations.
The Danjiri floats come rushing at full-speed. Please do not get run over.
Please be mindful of others especially on narrow streets.
Access to Kishiwada City
[nearest station]
September festivals
Haruki Station, Kishiwada Station, Takojizo Station (Nankai Electric Railway, Nankai Main Line)
October festivals
Kumeda Station, Shimomatsu Station, Higashi-Kishiwada Station (JR Hanwa Line)
Festival location
September festivals
All areas of Kishiwada and Haruki districts
October festivals
Districts of Yagi, Minamikamori, Higashi-kishiwada, Yamadai, Yamadai-minami, and Yamataki