เทศกาลภายใต้เสียงเพลงขับขานซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ชานกิริ” นี้มีประวัติศาสตร์การสืบทอดยาวนานกว่า 800 ปีเพื่อสักการะศาลเจ้าทะเทอุกะและศาลเจ้าคุมะโนะบริเวณกลางเมืองทะจิมะ ถือเป็น 1 ใน 3 เทศกาลกิออนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่นเทียบเท่าเทศกาลกิออนที่เกียวโต และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมประเภทที่จับต้องไม่ได้
เทศกาลจริงจะจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม แต่จะมีการจัดพิธีขอพรที่เรียกว่า “โอโตยะโอเซ็นโดะ” ขึ้นก่อนในเดือนมกราคมซึ่งยังมีหิมะตกเพื่ออธิษฐานให้การจัดงานในปีนี้ราบรื่น จึงอาจกล่าวได้ว่ามีการจัดเตรียมเทศกาลตลอดทั้งปี
เมื่อถึงช่วงเทศกาลกิออนในเดือนกรกฏาคม กลุ่มหญิงสาวชุดเจ้าสาวจะก้าวเดินไปยังศาลเจ้าอย่างงดงาม เรียกว่าขบวน “นานะโฮคะอิ” นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงคาบุกิจากเด็กๆซึ่งหาดูได้ยาก และการแห่ซุ้ม “เคงกะยะทะอิ” หรือการปะทะกันของซุ้มขบวนแห่ รวมถึงการแสดง “ไดไดโอกะกุระ”ซึ่งถือเป็นไฮไลท์ในวันสุดท้ายด้วย อยากแนะนำให้ทุกคนได้มาสัมผัสประเพณีที่สืบทอดมานานกว่า 800 ปีเหล่านี้
ประมาณ 8 โมงเช้าของวันที่ 23 ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของเทศกาล ขบวนพาเหรด “นานะโฮคะอิ” อันศักดิ์สิทธิ์จะเริ่มออกเดิน ผู้ชายในเครื่องแต่งกายที่เรียกว่า “คะมิชิโมะ” กับรองเท้าเกี๊ยะและผู้หญิงในชุดเจ้าสาวจะนำเครื่องบูชาที่บรรจุอยู่ใน “โฮคะอิ” หรือภาชนะพิเศษ 7 ชิ้นไปสักการะแด่ศาลเจ้า ภายในขบวนประกอบด้วยผู้หญิงในชุดเจ้าสาวประมาณ 30 คนจนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ขบวนเจ้าสาวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น” มีช่างภาพจำนวนมากเดินทางมาจากทั่วประเทศญี่ปุ่นเพื่อเก็บภาพความสง่างามดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าหากได้เข้าร่วมในขบวนพาเหรดนานะโฮคะอิแล้ว หญิงสาวคนนั้นจะได้แต่งงาน
เด็กๆในชุมชนจะแสดงละครคาบุกิบนซุ้มแห่! การแสดงคาบุกิเด็กเป็นสิ่งที่หาชมได้ยากในประเทศญี่ปุ่น การแสดงดังกล่าวเริ่มมีตั้งแต่ปลายยุคเอโดะจนถึงช่วงต้นยุคเมจิ และยุติการแสดงไปช่วงหนึ่ง จนกระทั่งได้รับการฟื้นฟูกลับมาอีกครั้งในปี 1994 หลังจากห่างหายไปนานถึง 120 ปี! ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีการจัดแสดงในสถานที่อื่นๆทั้งภายในและนอกจังหวัดนอกเหนือจากการแสดงบนซุ้มแห่ช่วงเทศกาลด้วย
การแสดงเริ่มประมาณ 16 นาฬิกาในวันที่ 22 และ 23
ในงานเทศกาลมีการแห่ซุ้มหลากหลายประเภท ทั้งซุ้มที่มีการแสดงคาบุกิจากเด็กๆด้านบน โดยจะเคลื่อนที่ไปในขณะที่เด็กๆแสดงด้วย รวมถึงซุ้มแห่ขนาดใหญ่จาก 4 ชุมชนซึ่งแต่ละซุ้มจะฉุดกระชากและเคลื่อนที่ไปรอบๆอย่างทรงพลังราวกับจะพุ่งชนอีกซุ้มหนึ่ง เทคนิคการแห่แบบนี้เรียกว่า “เคงกะยะทะอิ” หรือแปลตามตัวอักษรได้ว่าการแห่ซุ้มทะเลาะ จังหวะการดึงรั้งซุ้มแห่ขนาดใหญ่ให้หยุดอย่างทันท่วงทีก่อนปะทะกับซุ้มอื่นเต็มเปี่ยมด้วยพละกำลัง
(ควรระมัดระวังความปลอดภัยในการรับชมจากด้านข้างด้วย)
การแห่เริ่มประมาณ 16 นาฬิกาในวันที่ 22 และ 23
ไม่รบกวนผเู้ขา้ชมงานท่านอื่นระหวา่งเขา้ชมขบวนพาเหรด“นานะโฮคะอิ”
ใชค้วามระมดัระวงัในการเขา้ชมระหวา่งแห่ซุม้“เคงกะยะทะอิ”
การเดินทาง
(สถานีที่ใกลท้ ี่สุด)
สถานีไอสุทะจิมะ รถไฟสายไอสุ
ท่ีอยู่ : บริเวณนะกะมะจิ ทะจิมะอะสะ ตาบลมินะมิไอสุ อาเภอมินะมิไอสุ จงั หวดั ฟคุ ุชิมะ พ้ืนที่จดั งานอยตู่ ิดสถานี
ขอ้มูลสญัลกัษณ์
จุดเด่นของเทศกาล
ช่วงเชา้ / กลางวนั / กลางคืน (วนั สุดทา้ ย) ฤดูกาล
ฤดูร้อน
ภูมิภาค
โทโฮคุ
มีอนั ตรายหรือไม่
ช่วงชนซุม้ (เคงกะยะไท)อาจมีอนัตราย
เหมาะสาหรับเยย่ี มชมหรือเขา้ ร่วมกิจกรรม เยยี่มชม
ส่วนประกอบ