เทศกาลโยสะโคอิจัดขึ้นเป็นระยะเวลา 4 วันทุกปี โดยเริ่มจากพิธีกรรมในคืนวันที่ 9 สิงหาคม ตามด้วยเทศกาลหลักในวันที่ 10 - 11 และปิดท้ายด้วยการแข่งขันระดับประเทศในวันที่ 12 ภายในอำเภอโคจิจะจัดลานแข่งขันขึ้น 9 จุดและพื้นที่จัดการแสดงอีก 7 จุด รวมผู้ร่วมงานประมาณ 200 ทีม เสียงเครื่องดนตรีประกอบจังหวะที่เรียกว่า "นะรุโกะ" จากนักเต้น 20,000 คนจะดังไปทั่วเมือง พร้อมขบวนแห่รถบุปผชาติที่เรียกว่า "จิกะตะฉะ" ซึ่งประดับประดาอย่างงดงามอลังการไปรอบเมือง เทศกาลเริ่มต้นขึ้นในปี 1954 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนที่เสื่อมโทรมหลังยุคสงคราม ปัจจุบัน ไม่เพียงแต่จะมีแฟนระบำโยสะโคอิให้ความสนใจเข้าร่วมจากทั่วประเทศเท่านั้น แต่ผู้คนที่หลงเสน่ห์ระบำนี้ยังจัดเทศกาลโยสะโคอิขึ้นในท้องถิ่นอื่น ๆ ทั่วญี่ปุ่น ส่งผลให้ระบำโยสะโคอิเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ
นอกจากนี้ การเต้นรำโยสะโคอิยังใช้ตั้งแต่บทเพลงพื้นบ้านไปจนถึงเพลงร็อค บางกลุ่มเต้นรำด้วยท่าทางแบบแซมบ้า ในขณะที่บางกลุ่มยังรักษาการร่ายรำแบบดั้งเดิม มองได้เพลิน ๆ ไม่รู้เบื่อ
รูปแบบระบำโยสะโคอิอยู่ที่บทเพลง "โยสะโคอิบุชิ" และการเคาะเครื่องประกอบจังหวะที่เรียกว่า "นะรุโกะ" ระหว่างเคลื่อนที่ไปพร้อมขบวนแห่ จุดสำคัญอยู่ที่การเต้นรำอย่างสนุกสนานโดยไม่จำกัดแนวเพลง!
เหล่าผู้เข้าร่วมเต้นรำประมาณ 100 ทีมจะเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เกิดบรรยากาศที่สร้างความประทับใจไม่รู้ลืม
เครื่องดนตรีนะรุโกะ เครื่องแต่งกาย และขบวนรถบุปผชาติคือเอกลักษณ์ของแต่ละทีม เครื่องแต่งกายมีตั้งแต่เสื้อคลุมฮัปปิหรือกิโมโนแบบดั้งเดิม ไปจนถึงเครื่องแต่งกายแบบสมัยใหม่หลากหลายรูปแบบ เครื่องประกอบจังหวะนะรุโตะแบบดั้งเดิมมักมีสีแดง คาดด้วยสีเหลืองกับสีดำ แต่มีหลายทีมที่สร้างสรรค์นะรุโตะขึ้นใหม่ให้เข้ากับเครื่องแต่งกายของตน รถแห่เปรียบเหมือนป้อมปราการของแต่ละทีม และเป็นลำโพงไปด้วยในขณะเดียวกัน ในช่วงค่ำคืน รถแห่เหล่านี้จะประดับประดาไฟนีออน และพ่นน้ำแข็งแห้งให้เกิดภาพแปลกตา ลองจับตามองความแตกต่างของแต่ละทีมให้ดี
อากาศค่อนข้างร้อน ระวังเกิดอาการฮีทสโตรกระหว่างเข้าชมเทศกาล
การเดินทางสู่อำเภอโคจิ
(สถานีที่ใกล้ที่สุด)
สถานี JR โคจิ
พื้นที่จัดงาน
มีพื้นที่เต้นรำและลานแข่งขัน 16 จุดทั่วอำเภอโคจิ