ทุกวันที่ 26-27 สิงหาคมของทุกปีจะมีการจัด "พิธีดับเพลิง" ขึ้นบริเวณศาลเจ้าสองแห่ง ได้แก่ "คิตะกุจิฮอนกูฟุจิเซ็นเก็น" และ "ศาลเจ้าสุวะ" หรือรู้จักกันดีในนาม "พิธีไฟโยชิดะ" ถือเป็น 1 ใน 3 เทศกาลแปลกขนาดใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น
พิธีกรรมทางนิกายชินโตจะเริ่มขึ้นที่ศาลเจ้าคิตะกุจิฮอนกูฟุจิเซ็นเก็นตั้งแต่เวลา 15.00 น.ของวันที่ 26 หลังจากนั้นในช่วงเย็น ผู้แห่ซุ้มจะเตรียมพร้อม "ซุ้มเทพเจ้า" และ "ซุ้มโอะยะมะ" ซึ่งทำเป็นรูปภูเขาไฟฟุจิไว้บริเวณจุดพักซึ่งเปรียบเหมือนที่พักของซุ้มแห่ระยะเวลา 1 คืน ในขณะเดียวกัน คบไฟสูง 3 เมตรกว่า 70 ต้นจะถูกจุดไฟขึ้นอย่างพร้อมเพรียงกันทั่วทุกบ้าน ทั้งเมืองแปรเปลี่ยนเป็นทะเลเพลิง บรรยากาศครึกครื้นของเทศกาลจะต่อเนื่องไปจนดึกดื่น
ในวันที่ 27 ซุ้มเทศกาลที่จัดเตรียมไว้ที่จุดพัก 2 หลังจะถูกนำมาแห่ไปทั่วอำเภอฟุจิโยชิดะตั้งแต่ช่วงบ่าย และเดินทางมาถึงศาลเจ้าเซ็นเก็นเมื่อตกเย็นพอดีเพื่อนำเข้าสู่ช่วงไฮไลท์ในการเดินวนรอบพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ "ทะคะมะโนะฮะระ" ซึ่งอยู่ภายในเขตศาลเจ้า ช่วงนี้เรียกว่า "พิธีซุซุกิ" เนื่องจากผู้เข้าร่วมพิธีจะถือ "กิ่งไม้ศักดิ์สิทธิ์จากต้นหญ้าซุซุกิ"
ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในเทศกาลนี้คือ "เซวะนิง " ซึ่งทำหน้าที่สักการะเทพเจ้าประจำศาลเจ้าคิตะกุจิฮอนกูเซ็นเก็น เด็กหนุ่มจำนวน 14 คนจะได้รับคัดเลือกให้ทำหน้าที่นี้โดยเป็นตัวแทนจาก 3 ตำบลในพื้นที่ พวกเขาต้องรับผิดชอบการประกอบพิธีกรรมสำคัญของศาลเจ้าตลอดปี และทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับหลายหน้าที่ระหว่างเทศกาลไฟ โดยเฉพาะหน้าที่สำคัญในการเรี่ยไรเงินทำบุญสำหรับคบไฟซึ่งต้องดำเนินการล่วงหน้าประมาณครึ่งปี แต่เมื่อเข้าสู่เดือนสิงหาคม พวกเขาจะหยุดพักงานอื่นเพื่อเตรียมการเทศกาลเท่านั้น
ปัจจุบัน เมื่อจบเทศกาลไฟ เรายังจะได้เห็นเหล่าผู้สักการะมารวมตัวกันที่หน้าประตูเขตศาลเจ้า และกอดคอร้องไห้ร่วมกันเพื่อหน้าที่อันยิ่งใหญ่
"ซุ้มแห่โอะยะมะ" ที่สร้างเลียนแบบรูปทรงของภูเขาไฟฟุจิจะถูกแห่ไปทั่วเมืองโดยเหล่าวัยรุ่นอย่างคุ้มคลั่ง จังหวะที่น่าสนใจคือการปล่อย "โอะยะมะซัง" หรือภูเขาดังกล่าวที่หนัก 1 ตันให้ตกลงพื้น ถือเป็นการกระทำที่แปลกและหาดูยาก ในช่วงบ่ายของวันที่ 27 ระหว่างที่แห่ซุ้มเทพเจ้าไปรอบเมือง จะมีการให้จังหวะอย่างพร้อมเพรียงว่า "โดะซุน โดะซุน โดะซุน" 3 ครั้ง ในสมัยโบราณ การตีและทุบ "โอะยะมะซัง" ซึ่งเปรียบได้กับภูเขาไฟที่ประทุจนทำให้เกิดภัยพิบัติขึ้นคือการอธิษฐานขอให้ภูเขาไฟฟุจิที่คุกรุ่นสงบลง อย่าพลาดชมพิธีกรรมอันสง่างามดังกล่าวซึ่งจะจัดขึ้น 4 จุดระหว่างทาง
ไฮไลท์ของเทศกาลไฟโยชิดะคือ "พิธีซุซุกิ" ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 27 ณ ศาลเจ้าคิตะกุจิฮอนกูฟุจิเซ็นเก็น เมื่อพระอาทิตย์ตกดิน เสียงกลองไทโกะจะดังก้องกังวาล ซุ้มจะถูกแห่เข้ามา และแหวกผ่านฝูงชนเพื่อวนไปรอบพื้นที่ "ทะคะมะโนะฮะระ" เหล่าขบวนแห่ซุ้มเทศกาลที่เต็มไปด้วยความฮึกเหิมจะวิ่งไล่ผู้ชมกว่า 300 คน! พลังความครึกครื้นของเทศกาลเปรียบเหมือนน้ำวน และกระแสน้ำจะพุ่งขึ้นสูงสุดในช่วงนี้ ชาวบ้านจะแห่ "ซุ้มเทพเจ้า" 2 รอบบริเวณ "ทะคะมะโนะฮะระ" และให้ผู้ชมทั่วไปร่วมแห่ "ซุ้มภูเขา (โอะยะมะ)" ตั้งแต่รอบที่ 3 เป็นต้นไป
ห้ามนั่งบนคบไฟ แม้ว่าจะยังไม่ได้จุดไฟก็ตาม
ห้ามสัมผัสคบไฟ
ห้ามเข้าใกล้ซุ้มศาลเจ้า
ห้ามกีดขวางขบวนแห่ซุ้มศาลเจ้า
ห้ามกีดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่เทศกาลหรือเจ้าหน้าที่ศาลเจ้า
ในวันที่ 26 ให้เดินผ่านด้านซ้ายของคบเพลิง
การเดินทางสู่อำเภอฟุจิโยชิดะ
(สถานีที่ใกล้ที่สุด)
สถานีฟุจิซัง รถไฟสายฟุจิคิวโก
พื้นที่จัดงาน
บริเวณศาลเจ้าคิตะกุจิฮอนกูฟุจิเซ็นเก็น และบริเวณคะมิโยชิดะ
ที่อยู่ : 5558 คะมิโยชิดะ อำเภอฟุจิโยชิดะ จังหวัดยะมะนะชิ
เดินจากสถานีฟุจิซัง 5 นาที