เทศกาลจำนวนมากในประเทศญี่ปุ่นจัดขึ้นโดยศาลเจ้า ขอแนะนำให้ลองเข้า ""สักการะ"" ศาลเจ้าในโอกาสที่ไปชมเทศกาลดูสักครั้ง
""การสักการะ"" หมายถึงการแจ้งบอกเทพเจ้าว่า ""ข้าพเจ้าได้เดินทางมาที่นี่แล้ว"" การแสดงความรู้สึกดังกล่าวผ่านพิธีกรรมที่กำหนดไว้คือการทักทายเทพเจ้าโดยสร้างความสมดุลระหว่างจิตใจกับรูปแบบ ดังนั้น หากทำตามรูปแบบแต่ปราศจากความรู้สึกร่วม ก็คงไม่มีความหมายใด
บางคนอาจต้องการเพียงถ่ายรูปกับวิหารหรือเสาโทริอิที่งดงาม อย่างไรก็ตาม ให้ทำจิตใจให้สงบก่อนจึงพนมมือเข้าหากัน พยายามถ่ายทอดความรู้สึกที่เดินทางมาเพื่อทักทายเทพเจ้าอย่างมุ่งมั่น และทำตามรูปแบบที่กำหนดไว้
คุณวิสช์โก ฟลอเรียน
ผู้ให้ข้อมูลสำหรับเขียนบทความ
เกิดเมื่อปี 1987 ณ กรุงลินซ์ ประเทศออสเตรีย มีความสนใจในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเป็นเด็กและขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมด้วยการอ่านหนังสือ เขาเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นพร้อมครอบครัวเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี และมีโอกาสเข้าชมวัดวาอารามรวมถึงศาลเจ้าต่างๆ ทำให้เกิดความสนใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในปี 2007 เข้าลองบวชในศาลเจ้าอุเอโนะเท็มมังกู และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิถีปฏิบัติของศาสนาชินโต หลังจากนั้น จึงเดินทางกลับประเทศของตน และเข้าศึกษาในแผนกญี่ปุ่นศึกษา มหาวิทยาลัยเวียนนา เขาเดินทางกลับมาญี่ปุ่นอีกครั้งเพื่อเข้าศึกษาต่อในสาขาชินโตศึกษา ณ มหาวิทยาลัยโคคุกะคุอิน เมื่อจบการศึกษาเฉพาะทาง ได้เข้าประจำเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา (ตำแหน่งกงเนกิ) ณ ศาลเจ้าคนโนะฮะจิมังกูในปี 2012 และรับตำแหน่งอยู่ 4 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2016 เป็นต้นไป จะย้ายไปรับตำแหน่งในศาลเจ้าโนเบโนะ อำเภอสึ จังหวัดมิเอะ